กำหนดประเด็นความรู้ ประจำปี 2556

1. การผลิตบัณฑิต
   - จรรยาบรรณกับการบูรณาการการจัดการเรียนการสอน
   - จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ รูปแบบ PBL
   - ระบบและกลไกการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
2. การวิจัย
   - โครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย

 

 

ข้อสรุป แนวปฏิบัติจากการจัดการความรู้ UKPSF Mentoring system and practice

27กรกฎาคม2564

1.แนวทางในการดำเนินงานระบบพี่เลี้ยงในหน่วยงาน
   1.1  กำหนดเป็นยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน
           - กำหนดให้การได้รับรองสมรรถนะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของหน่วยงาน และเป็น KPI ของอาจารย์
   1.2  สร้างความเข้าใจ
           - ประชาสัมพันธ์ข้อมูลโครงการไปในระดับภาควิชา
           - จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ UKPSF และการเขียนชี้แจงสิทธิประโยชน์  ขั้นตอนการดำเนินการสมัครในหน่วยงาน
   1.3  สร้างแรงจูงใจ
           - การเลือกอาจารย์พี่เลี้ยงให้ตรงศาสตร์ สาขา และคำนึงถึงสัมพันธภาพระหว่างอาจารย์ผู้สมัครกับอาจารย์พี่เลี้ยง
           - การคิดภาระงานให้ผู้สมัครขอรับรอง ผู้สมัครที่ผ่านการรับรองและอาจารย์พี่เลี้ยงที่ทำหน้าที่พี่เลี้ยงจนผู้สมัครผ่านการรับรอง
           - ประชาสัมพันธ์ยกย่องและประกาศเกียรติคุณผู้ที่ได้รับรองสมรรถนะในโอกาสต่างๆ
   1.4  การสนับสนุนและการช่วยเหลือ
           - เน้นย้ำแผนการดำเนนิงานของหน่วยงานหลักเกณฑ์
           - อัปเดตข้อมูลการสมัครให้ทราบ
           - จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้ผ่านการรับรองฯ และผู้สมัคร
           - การจัดให้มี Experienced mentor กับ New mentor ต่อผู้สมัคร 1 คน
    1.5  การกำกับและติดตาม
           - ทำแบบสำรวจ Google form เพื่อติดตามสถานการณ์ดำเนินงาน ปัญหาการสอนงานและช่วยในการปรับปรุงแก้ไข
2.แนวทางการเป็นอาจารย์พี่เลี้ยง
    2.1  เข้าใจเกณฑ์ UKPSF เป็นอย่างดี

    2.2  ทำความเข้าใจกับ application และศาสตร์ของ mentee
    2.3  อ่าน Draft รอบแรกดู Overview ก่อนเพื่อดูว่า Template ถูกมั้ย เกณฑ์ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ Case Study ใช้ไดห้รือไม่ค้นหา idea ของผู้สมัครในการเขียน Draft
    2.4  พูดคุยกับ mentee เพื่อทำความรู้จักทำความเข้าใจ background ของ mentee
    2.5  Update ข้อมูลใหม่ ๆ เกี่ยวกับการสมัคร
    2.6  กำหนด Time frame และทำข้อตกลงกับ Mentee เช่น จะติดตามงานทุก 2 สัปดาห์ เพื่อความชัดเจน
    2.7  เทคนิคในการตามงานตามเป็นระยะ เลือกช่องทางการติดต่อโดยดูบุคลิกลักษณะของผู้สมัคร
    2.8  เทคนิคการรับฟังและให้กำลังใจ mentee
    2.9  แนะนำ/จูงใจให้ผู้สมัครเขียนDraftด้วยภาษาอังกฤษ
    2.10 ช่วยให้ผู้สมัครได้ประเมินตนเองในเบื้องต้นว่างานที่เขียนมาครบตามเกณฑ์หรือยัง ก่อน 1 รอบ โดยให้ผู้สมัครลองกลับไปอ่านงานตัวเอง แล้วลองหาว่าตรงไหนคือ What ตรงไหนคือ Why ตรงไหนคือ Result

Tips:
1.ควรจะใส่ A K V เฉพาะที่ให้ชัดเจนไม่ควรใส่เหมารวม เพราะการทำแบบนั้นไม่ได้แสดงให้เห็นว่าผู้สมัครเข้าใจเกณฑ์  หรือไม่พี่เลี้ยงควรเขียนตัวอย่างให้ดู แล้ว Highlight ให้ผู้สมัครลองดูตัวอย่างแล้วกลับไปแก้ใหม่
2.ผู้สมัครในระดับ SF มักจะเขียน application ขาดเรื่อง Successful,การ Mentoring และ pedagogy (ไม่ได้ใช้ทฤษฎีมา reference อย่างถูกต้องและเหมาะสม)
3.ผู้สมัครในระดับ SF ควรอธิบายบรรยายให้คนที่อ่านเห็นภาพว่าเราทำอะไร ผลที่ได้ คืออะไร ทำอย่างไร เช่น การ mentoring สอนอย่างไร คนที่เราสอนงานประสบความสำเร็จอย่างไรหลักฐานก็จะเป็นวา่คนที่เราสอนงานได้นำสิ่งที่เราสอนไปทำต่ออย่างไร คนที่เราสอนสามารถนำไปทำต่อเองโดยไม่มีเราหรือไม่ แล้วผลที่ได้เป็นอย่างไร feedback ต่อคนที่เราสอนงานเป็นอย่างไร
4.ผู้สมัครในระดับ Fellow ควรหาเหตุผลว่าทำไมถึงใช้แนวคิดนี้ แล้วเกิดอะไรขึ้น จากการจัดแบบนี้ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไรจากการออกแบบหรอืการสอนในลักษณะนี้เช่น feedback จากผู้เรียน สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานของความสำเร็จได้
5.กรณีที่มีการให้คำปรึกษาไปหลายรอบแล้วแต่ก็ยังไม่สามารถปรับแก้ให้ได้ตามคำแนะนำ มี 2 กรณี คือ
   a.มีการดำเนินการจริง แต่ไม่สามารถเขียนได้  อาจจะต้องให้คำแนะนำในแต่ละส่วน (ส่วนนี้ต้องเขียนอะไร) และใช้การพูดคุยเพื่อดึงเรื่องที่จะเขียน
   b.ไม่มีการดำเนินการจริง  ใช้วิธีแนะนำให้ไปดำเนินการก่อน  และให้คำแนะนำว่าจะต้องไปดำเนินการอย่างไร เพื่อเตรียมการแล้วเลื่อนการสมัครออกไปก่อน
6.หากมี case resubmit แนะนำให้ผู้สมัครตั้งใจใช้เวลาในการแก้ไข application ที่มีอยู่จำกัดให้คุ้มค่าและให้ปรึกษา experienced mentor ด้วย