หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)
ชื่อหลักสูตร ภาษาไทย: หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Arts Program in Cinema and Digital Media
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล) ชื่อย่อ (ภาษาไทย): ศศ.บ. (ภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล) ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Bachelor of Arts (Cinema and Digital Media) ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ): B.A. (Cinema and Digital Media)
วิชาเอก/แขนงวิชา (ถ้ามี) การผลิตภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล (Cinema and Digital Media Production) การแสดงและกำกับการแสดงภาพยนตร์ (Acting and Directing for Cinema) การออกแบบเพื่องานภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล (Production Design for Cinema and Digital Media)
จุดเด่นของหลักสูตร จากแนวนโยบายในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับการดำเนินการเพิ่มคุณค่า (Value creation) ของสินค้าและบริการบนฐานความรู้และนวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่าการผลิตสินค้าและบริการให้เพิ่มสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการศึกษาและเริ่มขับเคลื่อนการสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐกิจจากทุนทางวัฒนธรรม และงานสร้างสรรค์เพิ่มมากขึ้นอย่างเป็นลำดับ ทั้งนี้ อุตสาหกรรมภาพยนตร์เป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีบทบาทอย่างมากในการตอบสนองคุณลักษณะของสังคมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ดังนั้น การให้ความสำคัญกับธุรกิจภาพยนตร์หรือธุรกิจบันเทิงในปัจจุบันจึงมีความสำคัญอย่างมาก นอกจากนี้ การสื่อสารในยุคข้อมูลข่าวสารในปัจจุบัน ที่ให้ความสำคัญกับข้อมูล ข่าวสาร เทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาแนวทาให้กับผู้ประกอบวิชาชีพด้านภาพยนตร์ให้เกิดความรู้ทันด้านข้อมูลข่าวสาร รู้จักนำเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่มาประยุกต์ในการพัฒนางานภาพยนตร์และสื่อดิจิตอลได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ในฐานะของสถาบันการศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอนทางด้านงานภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล จึงเล็งเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาด้านงานภาพยนตร์และสื่อดิจิตอลบนฐานของเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถมีกระบวนการคิด ผลิตชิ้นงาน ตลอดจนดำเนินการด้านต่างๆ ของงานภาพยนตร์และสื่อดิจิตอลได้อย่างเหมาะสมกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ มีทักษะด้านภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล ตลอดจนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งตระหนักถึงจริยธรรมความรับผิดชอบต่อสังคมและมีความสามารถในการสื่อสารได้อย่างเต็ม
อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพในวงการบันเทิงได้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ผู้กำกับการแสดง ผู้ควบคุมการผลิตงานภาพยนตร์ โทรทัศน์ ภาพยนตร์โฆษณา ภาพยนตร์แอนิเมชั่น นักแสดง ผู้ฝึกเทคนิคการแสดง ผู้กำกับรายงานโทรทัศน์ ผู้จัดการกองถ่าย ผู้เขียนบทละคร-บทภาพยนตร์ ผู้กำกับศิลป์ (Arts Director) ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายเพื่องานแสดง ผู้ออกแบบฉาก ผู้ออกแบบแสง ผู้ออกแบบเสียง ครีเอทีฟ ตลอดจนทีมงานเบื้องหน้าและหลังอื่นๆ ในธุรกิจภาพยนตร์และโทรศัพท์
การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม โทร. 02-259-2343 http://cosci.swu.ac.th/